ข้อมูลทั่วไป

ชื่อสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกุดข้าวปุ้น


ที่ตั้ง/การติดต่อ  

ตั้งอยู่ถนนข้าวปุ้น –นาไฮ  ตำบลข้าวปุ้น   อำเภอกุดข้าวปุ้น   จังหวัดอุบลราชธานี  34270     โทร.  045-4295790 , 045-429579    

 

 สังกัด 

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงศึกษาธิการ        

 

 อาณาเขต     อาณาเขตติดต่อ      ดังนี้

                        -  ทิศเหนือ          ติดต่อกับ อำเภอเขมราฐ จ. อุบลราชธานี

                        -  ทิศใต้                        ติดต่อกับ อำเภอตระการพืชผล

                        -  ทิศตะวันออก                ติดต่อกับ อำเภอโพธิ์ไทร และ อำเภอเขมราฐ

                        -  ทิศตะวันตก              ติดต่อกับ อำเภอปทุมราชวงศา  จ. อำนาจเจริญ

                       อำเภอกุดข้าวปุ้น     พื้นที่ทั้งหมดประมาณ   330  ตร.กม. (206,205  ไร่) 

 

 สภาพชุมชน    สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของอำเภอกุดข้าวปุ้น

ลักษณะที่ตั้ง     ตั้งอยู่ที่บ้านข้าวปุ้น  หมู่ที่ 14   ตำบลข้าวปุ้น  เป็นอำเภอเมื่อปี  พ.ศ.2522  ตั้งอยู่ ทางทิศเหนือของจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง  78  กม. พื้นที่รวมทั้งสิ้น  206,205  ไร่ (330  ตร.กม.)

 

"กุดข้าวปุ้นเมืองอู่ข้าว        พระเจ้าให้ญ่ขุมคำ             งามล้ำผ้าทอ   บ้านก่อปอถัก                ภูขามงามนัก                   ประชารักสามัคคี"

 

แผนที่อำเภอกุดข้าวปุ้น

 

สภาพภูมิศาสตร์โดยรวม

                     -    เป็นที่ราบ  ดินร่วนปนทรายไม่เก็บกักน้ำ  ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก  มีภูเขา

                     -    เป็นที่ราบลุ่ม  มีลำห้วย  3  สาย ไหลผ่าน  คือ  ห้วยตาเทียว    ห้วยขุหลุ   และห้วยน้ำคำ

  

ด้านการปกครอง

      อำเภอกุดข้าวปุ้น   แบ่งการปกครองออกเป็น  5  ตำบล    1   เทศบาล    75  หมู่บ้าน   10  ชุมชน   ดังนี้

                 ตำบลข้าวปุ้น          จำนวน   15 หมู่บ้าน    ดังนี้

  • อยู่นอกเขตเทศบาล จำนวน  9  หมู่บ้าน             

        หมู่ที่ 3 บ้านน้ำเกลี้ยง                 หมู่ที่  4  บ้านโคกเลาะ          หมู่ที่ 6 บ้านตาดแต้       หมู่ที่ 7 บ้านโคกก่อง                   หมู่ที่  9  บ้านโนนหอม          หมู่ที่ 11 บ้านบุ่งแสง                 

    หมู่ที่ 12 บ้านโคกกลาง                หมู่ที่ 13  บ้านดอนอีด่อน              หมู่ที่ 15   บ้านโคกเลาะ

  -   อยู่ ในเขตเทศบาล     จำนวน   6   หมู่บ้าน                                       

        หมู่ที่ 1 บ้านข้าวปุ้น                 หมู่ที่ 2 บ้านนาสีดา                หมู่ที่ 5   บ้านหินโงม                                   หมู่ที่  8   บ้านข้าวปุ้น               หมู่ที่ 10  บ้านวังนอง              หมู่ที่ 14   บ้านข้าวปุ้น

          ตำบลกาบิน  จำนวน  14  หมู่บ้าน   ดังนี้

        หมู่ที่ 1 บ้านกาบิน                               หมู่ที่ 2 บ้านคึมสร้างหิน                   หมู่ที่ 3 บ้านป่าข่า                                    หมู่ที่  4   บ้านนาหว้าน้อย                    หมู่ที่  5   บ้านโนนมะเขือ         หมู่ที่ 6 บ้านก่อ     

     หมู่ที่  7   บ้านดอนม่วง             หมู่ที่  8   บ้านโนนดอกแก้ว                     หมู่ที่  9   บ้านตุให้ญ่                                           หมู่ที่ 10  บ้านนาต่าย               หมู่ที่ 11  บ้านตุน้อย               หมู่ที่ 12  บ้านนาสะแบง       

    หมู่ที่ 13   บ้านนาเจริญ                         หมู่ที่ 14  บ้านโคกยาว

                ตำบลแก่งเค็ง                 จำนวน    13   หมู่บ้าน   ดังนี้

        หมู่ที่ 1 บ้านแก่งเค็ง                 หมู่ที่ 2 บ้านหนองกุง              หมู่ที่ 3 บ้านหนองบั่ว                                     หมู่ที่ 4 บ้านฟ้าห่วน                 หมู่ที่ 5 บ้านหนองลุมพุก            หมู่ที่ 6 บ้านแก้งกกก่อ        

    หมู่ที่ 7 บ้านตาดโตน                หมู่ที่ 8 บ้านหนองบัว              หมู่ที่ 9 บ้านขุมคำ                            หมู่ที่ 10 บ้านดอนตาเข                  หมู่ที่ 11 บ้านหนองบ๋า            หมู่ที่ 12 บ้านแก่งเค็ง

        หมู่ที่ 13 บ้านดงตาหวาน                                                                                                   

                ตำบลหนองทันน้ำ     มีจำนวน    13   หมู่บ้าน   ดังนี้

        หมู่ที่ 1 บ้านหนองทันน้ำ            หมู่ที่ 2 บ้านบก                     หมู่ที่ 3 บ้านชาติ                                        หมู่ที่ 4 บ้านโนนหินแร่               หมู่ที่ 5 บ้านสองคอน              หมู่ที่ 6 บ้านแสนอุดม

        หมู่ที่ 7 บ้านศรีสมบูรณ์              หมู่ที่ 8 บ้านรวมไทย               หมู่ที่ 9 บ้านแหลมทอง                                    หมู่ที่ 10 บ้านศรีเชียงให้ม่           หมู่ที่ 11 บ้านแสนอุดมเหนือ       หมู่ที่ 12 บ้านบก

        หมู่ที่ 13 บ้านหนองคู

                   ตำบลโนนสวาง     มีจำนวน    20   หมู่บ้าน   ดังนี้

        หมู่ที่ 1 บ้านโนนสวาง               หมู่ที่ 2 บ้านหนองยาง             หมู่ที่ 3 บ้านโนนสังข์                                หมู่ที่ 4 บ้านหว้า            หมู่ที่ 5 บ้านกุดกลอย              หมู่ที่ 6 บ้านคำแม่มุ่ย

        หมู่ที่ 7 บ้านแก้งลิง                   หมู่ที่ 8 บ้านแข็งขยัน              หมู่ที่ 9 บ้านไชยชนะ                              

        หมู่ที่ 10 บ้านดงบัง         หมู่ที่ 11 บ้านหนองนกทา                  หมู่ที่ 12 บ้านลาดหญ้าคา

        หมู่ที่ 13 บ้านหนองแวง             หมู่ที่ 14 บ้านโคกสว่าง            หมู่ที่ 15 บ้านโนนสวางน้อย                        หมู่ที่ 16 บ้านกุดกลอย    หมู่ที่ 17  บ้านกุดกลอยเหนือ              หมู่ที่ 18 บ้านโนนสวางบูรพา                       

        หมู่ที่ 19 บ้านโนนสังข์เหนือ      หมู่ที่ 20  บ้านกุดกลอย

 

การจัดเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น

                    ตามพระราชบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็น  6 แห่ง     ดังนี้

  1.               เทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น
  2. องค์การบริหารส่วนตำบลกาบิน
  3. องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเค็ง
  4. องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวปุ้น
  5. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทันน้ำ
  6. องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสวาง   

 

จำนวนประชากร

- มีประชากรทั้งสิ้น          ๓๗,๒๔๘      คน

                     ประชากรชาย   ๑๘,๖๔๕     คน                     

                     ประชากรหญิง    ๑๘,๖๐๓     คน   

-   ข้อมูลจำนวนประชากรระดับตำบล

               ตำบลกาบิน     มีประชากร              ชาย  2,6๒๓  คน    หญิง   2,7๓๐  คน       รวม   5,3๕๓   คน

               ตำบลแก่งเค็ง   มีประชากร              ชาย  3,93๔   คน    หญิง   3,9๕๘  คน      รวม   7,8๙๒   คน

               ตำบลข้าวปุ้น   มีประชากร              ชาย  ๕,๐๓๖   คน    หญิง  ๔,๘๘๐   คน      รวม   ๙,๙๑๖    คน

               ตำบลหนองทันน้ำ  มีประชากร  ชาย  3,85๔   คน   หญิง  3,๗๗๖   คน       รวม   7,6๓๐   คน   

              ตำบลโนนสวาง   มีประชากร    ชาย  5,๒๖๖   คน   หญิง  5,๓๐๑  คน        รวม   10,๕๖๗   คน

                ที่มา  สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองอำเภอกุดข้าวปุ้น  เดือน  กรกฎาคม 2562

 

ด้านการศึกษา

 ๑. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ        จำนวน   1   แห่ง

 ๒. โรงเรียนประถมศึกษา  (ป.1 – 6)                                  จำนวน  29   แห่ง

 ๓. โรงเรียนขยายโอกาส  (ป.1 – ม.3)                                  จำนวน    3   แห่ง

 ๔. โรงเรียนมัธยมศึกษา  (ม.1 – ม.6)                                   จำนวน   3   แห่ง

 ๕ โรงเรียนเอกชน ดุสิตคามนคร                                                  จำนวน   ๑   แห่ง

 ๖.ศูนย์การเรียนรู้พิทักษ์ปัญญา                                                   จำนวน   ๑   แห่ง

 

ด้านสาธารณสุข

๑.  โรงพยาบาล                                     จำนวน   1   แห่ง                     

๒.  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล            จำนวน   8   แห่ง  

๓.  ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน                 จำนวน   1   แห่ง  

 

ด้านศาสนา สังคมและวัฒนธรรม

                 ประชาชนในเขตอำเภอกุดข้าวปุ้น ส่วนใหญ่จะมีชีวิตเรียบง่าย  มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปตามความเจริญของบ้านเมือง  ยึดถือศาสนาพุทธเป็นที่รวมจิตใจ ตลอดจนยึดถือวัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิม ฮีตสิบสอง 

คองสิบสี่   ที่ยึดถือปฏิบัติ  สืบต่อกันมา เช่น การทำบุญไปวัดฟังธรรมในวันสำคัญทางศาสนา 

 

การประกอบอาชีพ

            อาชีพหลัก   ได้แก่  อาชีพเกษตรกรรม  (ทำนา  ทำไร่)  รับจ้างและรับราชการ       อาชีพเสริม  ได้แก่  การปลูกยางพารา  ทอผ้า  จักสาน แปรรูปอาหารขนม และ การทำสวน ตำบลโนนสวาง  อำเภอกุดข้าวปุ้น เป็นแหล่งผลิตผ้าพื้นเมืองที่มีคุณภาพเป็นสินค้า OTOP  เช่น  ผ้าลายกาบบัว   ผ้าไหมมัดหมี่

       สภาพเศรษฐกิจ  โดยรวมถือว่าอยู่ในระดับปานกลางผู้คนไม่ถึงกับมีฐานะร่ำรวยแต่ก็ไม่ถึงกับยากจนมากพอเลี้ยงตัวได้ตามสภาพการทำมาหาเลี้ยงชีพในแต่ละอาชีพประชากรส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ทำนา   ทำไร่และรับจ้าง

  

ด้านพาณิชย์การตลาด

             ๑. โรงสีข้าวเอกชน                                  จำนวน  1    แห่ง  

             ๒. ธนาคาร                                          จำนวน  2   แห่ง  

             ๓. สหกรณ์การเกษตรอำเภอ                      จำนวน  1   แห่ง  

 

ด้านการคมนาคมขนส่งทางบก    

       1. ทางหลวงหมายเลข 2197 กุดข้าวปุ้น – นาไฮ อำเภอตระการพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี

      2. ทางหลวงหมายเลข 2252 กุดข้าวปุ้น - อำเภอปทุมราชวงษา จังหวัดอำนาจเจริญ

      3. ทางหลวงหมายเลข 2232 กุดข้าวปุ้น - ม่วงเดียด  อำเภอตระการพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี

      ๔.ทางหลวงหมายเลข 2232 กุดข้าวปุ้น – หนองผือ  อำเภอเขมราฐ  จังหวัดอุบลราชธานี

             5.ทางหลวงหมายเลข 2197 กุดข้าวปุ้น – บ้านขุมคำ  อำเภอกุดข้าวปุ้น  จังหวัดอุบลราชธานี

 

สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว

  1. วัดป่าศิลาราม

                ตั้งอยู่ บ้านข้าวปุ้น  หมู่ที่ 14  ตำบลข้าวปุ้น  อำเภอกุดข้าวปุ้น   จังหวัดอุบลราชธานี   เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน  ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวกุดข้าวปุ้นและประกอบพีธีกรรมทางศาสนา และเป็นแหล่งศูนย์รวมทางวัฒนธรรมและวัตถุโบราณของชาวกุดข้าวปุ้น

  1. พระเจ้าใหญ่ขุมคำ    

                  วัดขุมคำตั้งอยู่หมู่ที่ 9  ตำบลแก่งเค็ง อำเภอ กุดข้าวปุ้น  จังหวัดอุบลราชธานี  กิโลเมตรที่ ๒๖  ถนนตระการ – เขมราฐ ที่ตรงนี้ปกติเป็นป่าไม้และโขดหินที่สวยงามและมีประวัติความเป็นมาที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง   ผู้ที่ริเริ่มก่อตั้งวัดขุมคำคือ  พระครูอินทปัญญาโสภณ (เดิมพระอาจารย์สงวน อินทปัญโญ)  “ขุมคำ”        มีลักษณะ เป็นหลุมหิน    ปากหลุมสอดเข้าอยู่กลางพะลานหิน เส้นผ่าศูนย์กลาง  ประมาณ  1  เมตร ภายในหลุมกว้างกว่าปากหลายเท่า  ลักษณะคล้ายคุ  หรือกะออมโบราณเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาหลายพันปีปัจจุบันประดิษฐ์ฐานที่วัดขุมคำ อยู่ในเขตบ้านขุมคำ  ตำบลแก่งเค็ง   อำเภอกุดข้าวปุ้น   จังหวัดอุบลราชธานี  

  1. ภูขาม

  ภูเขาขาม เป็นภูเขาหิน ระยะทางเดินเท้าจากฐานถึงจุดสูงสุดประมาณ 1,500 เมตร  ในเดือนเมษายน  จะมีพิธีสรงน้ำพระภูขาม มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่าได้มีพระพุทธรู้ปอยู่ในถ้ำที่มีต้นไทร ผู้เฒ่าจึงอัญเชิญมาประดิฐสถานไว้ข้างนอกในปัจจุบัน มีความศักดิ์สิทธิ์มาก แกะสลักด้วยหินศิลาเป็นพระพุทธรูปปางยืนแต่ถูกคนหัวใจบาปตัดเศียรไป ทุกปี    หลังถวายภัตตาหารเช้าแล้วพากันนำดอกไม้ ธูปเทียนน้ำสรง อาหาร ไปสรงน้ำพระภูและเทวดา เพื่อขอฝน ขอน้ำ  เพื่อการทำนาทุกปี และเพื่อเป็นสิริมงคลมีกิจกรรมดังนี้ ถวายเพล และสังฆทาน แล้วทรงน้ำพระภู สรงน้ำพระภิกษุสามเณร  ผู้เฒ่า ผู้แก่ จุดบั้งไฟ  เฉลิมฉลอง ร้องรำทำเพลง มีการละเล่น เช่นเล่นน้ำ พูดคุยบ่าวสาว ทานอาหารร่วมกัน เดินชมถ้ำเหวต่างๆ  แล้วเดินทางกลับเป็นอันเสร็จงาน สมัยก่อนใช้การเดินเท้าไปกลับ  ๘ ชั่วโมง