กลุ่มยุทธศาสตร์และการพัฒนา

ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกุดข้าวปุ้น   ปีงบประมาณ 2562

 

   ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสู่ความมั่นคง

       กลยุทธ์ที่ 1 ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย การมีจิตอาสา และอุดมการณ์ความยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ

          แนวทางการดำเนินงาน

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี
  2. ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะ และยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ

          โครงการ

  1. โครงการศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตยประจำตำบล (ศส.ปชต.)
  2. โครงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยและบุญคุณพระมหากษัตริย์ไทย
  3. โครงการจิตอาสา กศน. “เราทำความดี ด้วยหัวใจ”
  4. โครงการลูกเสือ กศน.
  5. โครงการอาสายุวกาชาด กศน.

    กลยุทธ์ที่ 2 ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน

        แนวทางการดำเนินงาน

  1. ขยายผลชุมชนต้นแบบตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ให้คลอบคลุมทุกตำบล
  2. บูรณาการขับเคลื่อนการทำงานตามแนวทางประชารัฐ ดำเนินโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่ทั้งในระดับตำบล หมู่บ้าน
  3. สนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนในพื้นที่ทุกระดับ ตั้งแต่จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน

 

      โครงการ

             โครงการชุมชนต้นแบบตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล

  กลยุทธ์ที่ 3  ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านสังคม การเมือง

      แนวทางการดำเนินงาน

            พัฒนาทักษะด้านการคิดของประชาชน ให้คิดเป็น วิเคราะห์ได้และตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่ถูกต้อง

      โครงการ

            โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

  กลยุทธ์ที่ 4  พัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตพื้นที่ชายแดน

       แนวทางการดำเนินงาน

  1. สร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาเครือข่ายในการจัดการศึกษา
  2. พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
  3. จัดทำแผนการจัดการะบวนการเรียนรู้ ให้มีความชัดเจน
  4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพประชาชนทุกช่วงวัย สร้างงาน สร้างอาชีพ มีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

      โครงการ

            โครงการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่ชายแดน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  กลยุทธ์ที่ 1 ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค

      แนวทางการดำเนินงาน

  1. สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรทุกระดับ เพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา
    ระดับภาค
  2. จัดทำยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับภาค

    โครงการ

  1. โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2562
  2. โครงการปรับปรุงแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี 2562

 

  กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้กับประชาชน

      แนวทางการดำเนินงาน

  1. พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของประชาชน
  2. พัฒนารูปแบบและสื่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครู

     โครงการ

  1. โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ
  2. โครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพครูต้นแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (English BootCamp)

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

     แนวทางการดำเนินงาน

  1. พัฒนาความรู้และทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา
  2. ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
  3. พัฒนาทักษะและส่งเสริมให้ประชาชนประกอบธุรกิจการค้าออนไลน์

     โครงการ

  1. โครงการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการ “การสร้างเครือข่ายดิจิทัลชุมชน ระดับตำบล”
  2. โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ

  กลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพการศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียน

       แนวทางการดำเนินงาน

  1. จัดการศึกษาด้วยวิธีที่หลากหลาย เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระ
  2. จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพ

       โครงการ

  1. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน
  2. โครงการแข่งขันทักษะทางวิขาการ และศิลปะหัตกรรม กีฬา กรีฑา นักศึกษา กศน.
  3. โครงการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปลายภาคเรียน
  4. โครงการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ สำหรับการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)

 

กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ “สะเต็มศึกษา” (STEM Education)

  แนวทางการดำเนินงาน

  1. พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กระบวนการ “สะเต็มศึกษา”
  2. พัฒนาศักยภาพครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ “สะเต็มศึกษา”

  โครงการ

  1. โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
  2. โครงการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ “สะเต็มศึกษา”

 

กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนทุกวัย

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. แสวงหาเครือข่ายการดำเนินงานและความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนและการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะอนามัยของประชาชนในพื้นที่
  2. จัดทำหลักสูตรเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะอนามัยของประชาชนให้คลอบคลุมทุกช่วงวัย
  3. จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะอนามัยของประชาชน ตามความต้องการ จำเป็นของกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
  4. กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

   โครงการ

  1. โครงการจัดทำหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาวะอนามัยในชุมชน
  2. โครงการส่งเสริมสุขภาวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์
  3. โครงการส่งเสริมสุขภาวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี
  4. โครงการส่งเสริมสุขภาวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับเด็กและวัยรุ่น (6 - 24 ปี)
  5. โครงการส่งเสริมสุขภาวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับวัยทำงาน (25 – 59 ปี)
  6. โครงการส่งเสริมสุขภาวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)

กลยุทธ์ที่ 4  การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. สร้างความตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
  2. จัดการศึกษาอาชีพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ

  

  โครงการ

  1. โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุ
  2. โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ (70 ชม.)
  3. โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ (420 ชม.)

กลยุทธ์ที่ 5 ยกระดับทักษะอาชีพของประชาชนสู่ฝีมือแรงงาน

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน
  2. พัฒนากลุ่มอาชีพพื้นฐานเพื่อรองรับการค้า และการท่องเที่ยว

 

   โครงการ

  1. โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
  2. โครงการ 1 อำเภอ 1 อาชีพ สู่ “วิสาหกิจชุมชน : ชุมชนพึ่งตนเอง ทำได้ ขายเป็น”

กลยุทธ์ที่ 6 ใช้เทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม: เกษตรกรปราดเปรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และการเพิ่มมูลค้าสิ้นค่าทางการเกษตร
  2. จัดทำช่องทางเผยแพร่และจำหน่ายสินค้า/ผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้เป็นระบบครบวงจร
  3. เปิดศูนย์ที่ปรึกษาการค้าออนไลน์ ติดตาม ให้คำแนะนำ ดูแลผู้ที่ผ่านการอบรม เพื่อให้คงอยู่ในระบบการค้าออนไลน์และประชาชนที่สนใจ

  โครงการ    

  1. โครงการ Smart Farmer
  2. โครงการศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ออนไลน์ กศน. (OOCC)

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา  

  กลยุทธ์ที่ 1 ลุยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

   แนวทางการดำเนินงาน 

  1. สำรวจข้อมูลประชาชนในพื้นที่ เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย รับทราบปัญหาและความต้องการและมีข้อมูลในการวางแผนการจัดการศึกษา

           - ประชากรวัยเรียน (3-18 ปี) ที่อยู่นอกระบบการศึกษา และไม่จบการศึกษาภาคบังคับ

           - ประชาชนผู้ไม่รู้หนังสือ/ผู้ลืมหนังสือ

           - ประชาชนผู้พิการผู้ด้อย ผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา

  1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานในชุมชนและนอกชุมชน
  2. สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชน

   โครงการ

        โครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านและความต้องการพัฒนาขีดความสามารถของประชากร

กลยุทธ์ที่ 2  จัดกิจกรรมหลากหลายโดนใจผู้เรียน

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. จัดทำ/พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
  2. จัดกิจกรรมบริการทางการศึกษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

 

   โครงการ

  1. โครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. โครงการพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. และหลักสูตรเรียนรวม
  3. โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
  4. โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
  5. โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการรู้หนังสือไทย พ.ศ. 2557
  6. โครงการประเมินเทียบระดับการศึกษา (แบบไต่ระดับ)
  7. โครงการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ (หลักสูตรเรียนรวม)
  8. โครงการจัดการศึกษาสำหรับทหารกองประจำการ

   กลยุทธ์ที่ 3  สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เมืองน่าอยู่ ทันสมัย

    แนวทางการดำเนินงาน

  1. สนับสนุน แหล่งเรียนรู้ กศน. ตำบล ให้มีความความพร้อมเกี่ยวกับ ICT และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ทันสมัย มีคุณภาพ สามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
  2. สนับสนุนให้ครูใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เช่น ETV E-learning MOOC เพื่อเป็นเครื่องมือในการขยายการให้บริการในรูปแบบต่างๆ
  3. ผลิต/สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และประชาชน เพื่อช่วยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  4. ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดชุมชนต้นแบบ “เมืองแห่งการเรียนรู้”

   โครงการ

  1. โครงการพัฒนา กศน. ตำบล/แหล่งเรียนรู้ 4G
  2. โครงการผลิต/พัฒนาสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
  3. โครงการชุมชนต้นแบบ “เมืองแห่งการเรียนรู้”

 กลยุทธ์ที่ 4  ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายกระจายบริการการศึกษา

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร ชุมชนทุกภาคส่วน ในการดำเนินงานการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มขึ้น
  2. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ชุมชน ให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยเทคนิค วิธีการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจด้วยการยกย่องชมเชยให้รางวัล

  โครงการ

  1. โครงการสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานการจัดการศึกษา
  2. โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายการจัดการศึกษา

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

   กลยุทธ์ที่ 1  เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน

     แนวทางการดำเนินงาน

        ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

    โครงการ

       โครงการสร้างเสริมความรู้ “สู้” ภัยธรรมชาติ

  กลยุทธ์ที่ 2  สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสังคมสีเขียว

     แนวทางการดำเนินงาน

        ส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ การแปรรูป และการกำจัดขยะ รวมทั้งการจัดการมลพิษในชุมชน

    โครงการ

        โครงการส่งเสริมความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะในชุมชน

  กลยุทธ์ที่ 3  ส่งเสริมให้หน่วยงาน สถานศึกษา ใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     แนวทางการดำเนินงาน

         ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงาน สถานศึกษา มีงานวิจัย/นวัตกรรม เพื่อการบำบัดและฟื้นฟูเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

     โครงการ

         โครงการการวิจัยและพัฒนาด้านการบำบัดและฟื้นฟูเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

  กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ  

    แนวทางการดำเนินงาน

  1. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและนำหลักธรรมมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป
  2. 2. จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีโดยยึดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ในแผนหลัก เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และบรรลุผลตามเป้าหมายและตัวชี้วัดในช่วงเวลาที่กำหนด
  3. สร้างความเข้าใจในเป้าหมายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้กับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในพื้นที่ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายของแต่ละยุทธศาสตร์ตามที่กำหนด
  4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

   โครงการ

  1. 1. โครงการจัดทำ/ปรับปรุง/พัฒนาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  2. โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
  3. โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
  4. โครงการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด
  5. โครงการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของสถานศึกษา

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลของครู และบุคลากรทางการศึกษา

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. ปรับระบบการบริหารจัดการให้มีความชัดเจนในด้านบทบาทหน้าที่ของครู และบุคลากรทางการศึกษา และกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานให้มีความชัดเจน และสอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งงานแต่ละประเภท
  2. 2. มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เอื้อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาอื่นและพัฒนาเพิ่มเติมเข้าสู่วิชาชีพครู
  3. พัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  4. มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน บริหารค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เสริมสร้างขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงและก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญ

         5.จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง

  โครงการ

  1. 1. โครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  2. 2. โครงการประเมินผลการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา
  3. โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติ ครูดี ศรี กศน.
  4. โครงการสืบสานภูมิปัญญา มุทิตาจิต ผู้เกษียณอายุราชการ

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

 แนวทางการดำเนินงาน

  1. กำหนดสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมทุกภารกิจและเชื่อมโยงกับระบบการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอก
  2. สร้างเครื่องมือการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล
  3. จัดเก็บ วิเคราะห์ รวบรวม จัดเก็บสารสนเทศเป็นหมวดหมู่
  4. พัฒนา/จัดทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อในการจัดเก็บและให้บริการข้อมูลให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสะดวกต่อการใช้งาน
  5. ติดตามประเมินผลการใช้ข้อมูลสารสนเทศและพัฒนาให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน

 โครงการ

     โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการกำกับ นิเทศ ติดตาม การวัดผล ประเมินผลและการรายงาน

  แนวทางการดำเนินงาน

  1. 1. พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร โดยนำแบบทดสอบกลาง และระบบการสอบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Exam) มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สร้างกลไกการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินและรายงานผลการดำเนินงานให้เชื่อมโยงกันทุกระดับ
  3. พัฒนาระบบการกำกับ ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายสู่การปฏิบัติ ให้สามารถตอบสนองการดำเนินงานตามนโยบายในแต่ละเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. สร้างกลไกการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน สถานศึกษา เพื่อให้การรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ วิธีการ และรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด

  โครงการ

  1. 1. โครงการจัดทำต้นฉบับแบบทดสอบรายวิชาเลือกเสรี
  2. โครงการพัฒนาระบบการติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน
  3. โครงการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

 

ยุทธศาสตร์ที่ 7  การขับเคลื่อน “อุบลราชธานี นครแห่งการอ่าน

  กลยุทธ์ที่ 1  เสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของประชาชน

    แนวทางการดำเนินงาน

  1. สร้างแรงบัลดาลใจในการอ่านและการเรียนรู้
  2. จัดกิจกรรมเพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับประชาชนทุกช่วงวัย
  3. พัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเรียนรู้

   โครงการ

  1. โครงการพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์และอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน
  2. โครงการคาราวาน “ชาวอุบล คนมักอ่าน”
  3. โครงการปลูกฝังลูกรักเป็นนักอ่าน
  4. โครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
  5. โครงการบ้านหลังเลิกเรียน
  6. โครงการ “เด็กไทย ใส่ใจรักการอ่าน”
  7. โครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน “ด้านการอ่านและการเรียนรู้”
  8. โครงการจัดการศึกษาหลักสูตรการรู้หนังสือไทย

กลยุทธ์ที่ 2  สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้/สื่อการอ่านของประชาชนอย่างทั่วถึง

    แนวทางการดำเนินงาน

  1. ส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่น ชุมชนและบุคคล จัดมุมหนังสือ/พื้นที่การอ่านให้บริการประชาชน
  2. ส่งเสริมให้สถานศึกษาภาครัฐ เอกชน และองค์กรท้องถิ่น จัดพื้นที่การอ่านให้บริการประชาชน
  3. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมหมุนเวียนหนังสือ ระหว่างสถานศึกษา กศน. สถานศึกษาภาครัฐ เอกชน และชุมชน
  4. ส่งเสริมการผลิตสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการอ่านและการเรียนรู้

 

   โครงการ

  1. โครงการให้บริการห้องสมุด
  2. โครงการบ้านหนังสือชุมชน
  3. โครงการบรรณสัญจร
  4. โครงการผลิต/พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

 

กลยุทธ์ที่ 3  สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศของแหล่งการอ่านให้เอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้
  2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการอ่านและการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  3. ส่งเสริมการใช้สื่อที่หลากหลายในการจัดกิจกรรมการอ่านและการเรียนรู้

   โครงการ

  1. โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 4G เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. โครงการชุมชนต้นแบบรักการอ่าน
  3. โครงการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้เน็ตประชารัฐ

 

กลยุทธ์ที่ 4  ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย สร้างสังคมการอ่านและการเรียนรู้

   แนวทางการดำเนินงาน

  1. สร้างกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานระหว่างภาคีเครือข่าย
  2. สร้างระบบการนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงาน
  3. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

 

  โครงการ

  1. โครงการสัมมนาภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
  2. โครงการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

กลยุทธ์ที่ 5 ติดตามและประเมินผลการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

  แนวทางการดำเนินงาน

  1. จัดให้มีการประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ อุบลราชธานี นครแห่งการอ่าน
  2. ส่งเสริมหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีงานวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
  3. จัดมหกรรมแสดงผลงานวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

 โครงการ

  1. โครงการประเมินผลการดำเนินงานขับเคลื่อน “อุบลราชธานี นครแห่งการอ่าน”
  2. โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
  3. โครงการสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้